Home » นักธุรกิจ ชี้ ค่าแรง 600 ป.ตรี 25,000 ยุทธศาสตร์โหนกระแส ทำลายเศรษฐกิจ – วิถีชุมชน
นักธุรกิจ ชี้ ค่าแรง 600 ป.ตรี 25,000 ยุทธศาสตร์โหนกระแส ทำลายเศรษฐกิจ - วิถีชุมชน

วันที่ 6 ธันวาคม 2565 นายสุรชัย ชัยตระกูลทอง ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน เปิดเผยถึงกรณีที่พรรคการเมืองพรรคหนึ่งออกมาประกาศยุทธศาสตร์พรรคว่า ในปี 2570 คนไทยต้องได้ค่าแรงขั้นต่ำไม่ต่ำกว่า 600 บาทต่อวัน เงินเดือนผู้จบการศึกษาระดับปริญญาตรีอยู่ที่ 25,000 บาทขึ้นไปนั้น จากประเด็นดังกล่าว ผมในฐานะนักธุรกิจคนหนึ่ง อดีตเคยเป็นสมาชิกวุฒิสภามาก่อน และปัจจุบันมาเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงแรงงาน ซึ่งดูแลในส่วนของการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำด้วยนั้นมองว่า การจะกำหนดอัตราค่าจ้างที่สูงเช่นนี้จะทำลายระบบเศรษฐกิจชุมชน วิถีชีวิตชุมชน เอสเอ็มอีไทย ซึ่งปัจจุบันอัตราส่วนประชากรที่อยู่ในแถบภาคอีสาน ภาคเหนือ ส่วนใหญ่ทำอาชีพเกษตรกร ธุรกิจบริการ ต้องพี่งพาแรงงานต่างด้าว ฉะนั้นถ้าหากกำหนดอัตราค่าจ้างเท่ากับจำนวนดังกล่าวจริง จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตชุมชน จะจ้างงานไม่ได้ สุดท้ายวิสาหกิจชุมชนต้อง หายออกไปจากระบบ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ชุมชนต้องล่มสลายไปในที่สุด

นักธุรกิจ ชี้ ค่าแรง 600 ป.ตรี 25,000 ยุทธศาสตร์โหนกระแส ทำลายเศรษฐกิจ - วิถีชุมชน

นายสุรชัย กล่าวต่อว่า การออกมากำหนดยุทธศาสตร์ของพรรคในลักษณะดังกล่าว ถือเป็นการโหนกระแสการเลือกตั้ง เพื่อหวังเพียงคะแนนเสียงอย่างเดียวเท่านั้น ไม่ได้เป็นการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศเพื่อให้เกิดความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน และให้ประชาชนเกิดความผาสุกแต่อย่างใด ไม่ได้ส่งเสริมให้ภาคเกษตร ภาคท่องเที่ยวภาคอุตสาหกรรม ภาคบริการต่างๆ อยู่ร่วมกันได้ ซึ่งเรื่องนี้ถ้าย้อนไปดูในอดีตมีพรรคการเมืองหนึ่งก็เคยออกยุทธศาสตร์ของพรรคในลักษณะนี้มาแล้วกับนโยบายการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศเมื่อช่วงปี 55 – 56 เป็นต้นมา

นักธุรกิจ ชี้ ค่าแรง 600 ป.ตรี 25,000 ยุทธศาสตร์โหนกระแส ทำลายเศรษฐกิจ - วิถีชุมชน

ต้องยอมรับว่าผลกระทบจากนโยบายขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาทต่อวันในขณะนั้น ทำให้เกิดค่าครองชีพสูง ภาคอุตสาหกรรมนักลงทุนตามภูมิภาคของประเทศต้องย้ายฐานการผลิตกลับกรุงเทพ ปริมณฑลและธุรกิจเอสเอ็มอี ในภูมิภาคปิดกิจการลง คนจากชนบทต้องย้ายเข้ามาอยู่ในกรุงเทพ ปริมณฑล หรือหัวเมืองใหญ่ๆ วิถีชีวิตเกษตร วิสาหกิจชุมชน ธุรกิจบริการในภูมิภาค ไม่สามารถจ้างแรงงานได้ระบบเศรษฐกิจชุมชนถูกทำลาย เกิดการว่างงานสูง ซึ่งจากข้อมูลของสำนักงานประกันสังคม พบว่า ในปี 2555 มีผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนว่างงาน 5.03 แสนคน แต่ในปี 2557 ภายหลังจากนโยบายขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาททั่วประเทศ ทำให้มีผู้ประกันตนขึ้นทะเบียนว่างงานเพิ่มขึ้นเป็น 5.75 แสนคน ยิ่งไปกว่านั้นจำนวนของผู้ว่างงานในเดือนมิถุนายน 2555 มีจำนวนทั้งสิ้น 2.67 แสนคน หรือคิดเป็นอัตราการว่างงาน 0.7% และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2554 มีจำนวนผู้ว่างงานเพิ่มขึ้น 1.04 แสนคน จาก 1.63 แสนคน เป็น 2.67 แสนคน

นักธุรกิจ ชี้ ค่าแรง 600 ป.ตรี 25,000 ยุทธศาสตร์โหนกระแส ทำลายเศรษฐกิจ - วิถีชุมชน

นักธุรกิจ ชี้ ค่าแรง 600 ป.ตรี 25,000 ยุทธศาสตร์โหนกระแส ทำลายเศรษฐกิจ - วิถีชุมชน

“กระทรวงแรงงานอยากให้ผู้ใช้แรงงานทุกคนมีรายได้สูง มีคุณภาพชีวิตที่ดี แต่การที่จะกำหนดขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำแต่ละครั้งเป็นเท่าใดและช่วงเวลาใดนั้นขึ้นอยู่กับการพิจารณาของคณะกรรมการค่าจ้างที่เป็นองค์กรไตรภาคี ประกอบด้วยผู้แทน 3 ฝ่าย คือ ผู้แทนฝ่ายรัฐบาล ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง และผู้แทนฝ่ายลูกจ้าง โดยต้องคำนึงถึงปัจจัยดัชนีค่าครองชีพ อัตราเงินเฟ้อ มาตรฐานการครองชีพ ต้นทุนการผลิต ราคาของสินค้าและบริการ ความสามารถของธุรกิจ ผลิตภาพแรงงาน ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศ และสภาพทางเศรษฐกิจและสังคม จะต้องอยู่บนพื้นฐานของความเสมอภาค การรับฟังความเห็นของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกฝ่าย เพื่อให้นายจ้างสามารถประกอบธุรกิจอยู่ได้และลูกจ้างสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ตามสมควรแก่มาตรฐานการครองชีพ สภาพเศรษฐกิจและสังคมด้วย ดังนั้นการจะประกาศยุทธศาสตร์ด้านค่าจ้างแรงงาน ต้องตระหนักถึงผลได้ผลเสียต่อเศรษฐกิจและค่าจ้างแรงงานต่างด้าวด้วย ซึ่งอยู่ในกฎบัตรAECประชาคมอาเซียน ที่ต้องจ่ายค่าจ้างแรงงานต่างด้าวในอัตราเดียวกับค่าจ้างแรงงานไทยด้วย” นายสุรชัย กล่าวท้ายสุด

ประชาสัมพันธ์กระทรวงแรงงาน

โย  นสพ.ประเด็นรัฐ