Home » รมช.อรรถกร ลงพื้นที่นครศรีฯ  ผลักดันโครงการเร่งด่วน เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ พร้อมหนุนพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุน หวังแก้ปัญหาภัยแล้ง-น้ำท่วม อย่างยั่งยืน
Ministry of Agriculture and Cooperatives2
Ministry of Agriculture and Cooperatives2
www.pradenrath.com
รมช.อรรถกร ลงพื้นที่นครศรีฯ  ผลักดันโครงการเร่งด่วน เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

นายอรรถกร ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วย นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมลงพื้นที่ตรวจราชการเพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของเกษตรกร ด้านแหล่งน้ำ ในพื้นที่จังหวัดนครศรีธรรมราช ณ โรงเรียนบ้านน้ำร้อน อำเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยเปิดเผยว่า จ.นครศรีธรรมราช

รมช.อรรถกร ลงพื้นที่นครศรีฯ  ผลักดันโครงการเร่งด่วน เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

เป็นพื้นที่ประสบปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก จากสภาพภูมิประเทศที่มีลักษณะเป็นที่ราบและที่ราบลุ่มชายฝั่งทะเลขนาดกว้างฝั่งอ่าวไทย มีลำน้ำธรรมชาติซึ่งเกิดจากเทือกเขาไหลผ่านอยู่หลายสาย เมื่อเกิดฝนตกหนักบริเวณเทือกเขา ทำให้เกิดน้ำท่าในคลองต่าง ๆ เป็นปริมาณมาก ทำให้พี่น้องเกษตรกรและชาวบ้านได้รับผลกระทบ

รมช.อรรถกร ลงพื้นที่นครศรีฯ  ผลักดันโครงการเร่งด่วน เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

สำหรับในพื้นที่ตําบลสี่ขีด อำเภอสิชล พบว่า ในช่วงน้ำหลากระหว่างเดือน พฤศจิกายน – ธันวาคม ปริมาณน้ำไหลจากต้นนํ้าลงมามีปริมาณมาก จึงทําให้เอ่อล้นเข้าท่วมพื้นที่การเกษตร กัดเซาะตลิ่งและถนนสัญจรในหมู่บ้านพังเสียหาย เส้นทางคมนาคมและคลองถูกตัดขาด กรมชลประทานจึงได้ดำเนินการศึกษาและออกแบบหาแนวทางแก้ไข โดยดำเนินโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ําในพื้นที่ตําบลสี่ขีด อําเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 3 แห่ง ได้แก่ 1) คลองท่าโคก 2) คลองท่าเรือรี และ 3) คลองบางนํ้าใส เพื่อป้องกันน้ำกัดสองตลิ่งช่วงน้ำหลากบริเวณพื้นที่หมู่ 1,2 และ 11 ตำบลสี่ขีด อําเภอสิชล จังหวัดนครศรีธรรม ระยะเวลาดําเนินการก่อสร้าง 1 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ.2569)

รมช.อรรถกร ลงพื้นที่นครศรีฯ  ผลักดันโครงการเร่งด่วน เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

รมช.อรรถกร ลงพื้นที่นครศรีฯ  ผลักดันโครงการเร่งด่วน เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

รมช.อรรถกร ลงพื้นที่นครศรีฯ  ผลักดันโครงการเร่งด่วน เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

“กระทรวงเกษตรฯ มุ่งแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของพี่น้องเกษตรกร โดยจะเร่งผลักดันโครงการที่มีความจำเป็นเร่งด่วนให้ได้ตามแผนที่วางไว้  อีกทั้งจำเป็นต้องเพิ่มแหล่งน้ำต้นทุนเพื่อเป็นแหล่งเก็บน้ำไว้ใช้ในช่วงฤดูแล้ง เพื่อให้พี่น้องประชาชนและเกษตรกรในพื้นที่ ได้ใช้ประโยชน์จากการเก็บกักน้ำ สามารถใช้น้ำได้อย่างต่อเนื่องตลอด ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาการขาดแคลนน้ำและปัญหาอุทกภัยได้อีกทางหนึ่งด้วย“ รมช.อรรถกร กล่าว

รมช.อรรถกร ลงพื้นที่นครศรีฯ  ผลักดันโครงการเร่งด่วน เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

นอกจากนี้ กรมชลประทาน ยังได้มีแผนพัฒนาลุ่มน้ำคลองกาย ตําบลสระแก้ว อําเภอท่าศาลา จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อเป็นแหล่งนํ้าต้นทุนสําหรับการอุปโภค-บริโภค ให้มีน้ำเพียงพอในช่วงฤดูแล้ง อีกทั้งยังเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ ขยายพันธุ์ปลาและสัตว์น้ำจืดอื่นๆ สําหรับให้ราษฎรในพื้นที่โครงการได้บริโภคและทําการประมง จำนวน 2 แห่ง คือ 1) โครงการประตูระบายน้ำคลองกลายวัดชุมโลง เพื่อช่วยเหลือพื้นที่เพาะปลูกในเขตพื้นที่ตําบลตลิ่งชันและบริเวณใกล้เคียง พื้นที่รับประโยชน์ 21,000 ไร่ ระยะเวลาดําเนินการก่อสร้าง 3 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ.2570 – 2572) และ 2) โครงการประตูระบายน้ำคลองกลายบ้านนากุน ช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเค็มรุกล้ำเข้ามาในบริเวณคลองกลาย พื้นที่รับประโยชน์ 6,400 ไร่ ระยะเวลาดําเนินการก่อสร้าง 5 ปี (ปีงบประมาณ พ.ศ.2565 – 2569)

รมช.อรรถกร ลงพื้นที่นครศรีฯ  ผลักดันโครงการเร่งด่วน เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ

จากนั้น รมช.เกษตรฯ เดินทางตรวจเยี่ยมพื้นที่ก่อสร้างโครงการพัฒนาแหล่งน้ำ พื้นที่ตำบลควนพัง อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งเกษตรกรประสบปัญหาในช่วงฤดูฝนนํ้าจะท่วมไหลหลากเข้าสู่พื้นที่ทางการเกษตร ส่วนในฤดูแล้ง ลําคลองมีสภาพตื้นเขิน กักเก็บนํ้าได้น้อย ไม่เพียงพอกับปริมาณความต้องการของเกษตรกร กรมชลประทานจึงได้ศึกษาและออกแบบโครงการประตูระบายน้ำ โดยเสนอเป็นโครงการเร่งด่วนในปี 2569 ประกอบด้วย 1) โครงการประตูระบายน้ำบ้านไสขาม พื้นที่รับประโยชน์ 300 ไร่ และ 2) โครงการประตูระบายน้ำบ้านในขลิม พื้นที่รับประโยชน์ 400 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ําไว้ใช้ ประโยชน์ ในการอุปโภคบริโภค และเพื่อทําการเกษตร ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจและออกแบบ หากแล้วเสร็จจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในปี 2569 ต่อไป

ขณะเดียวกัน ยังได้เสนอแผนโครงการเร่งด่วนในพื้นที่อำเภอทุ่งสง 3 โครงการ ได้แก่ 1) โครงการทำนบดินบนบ้านบนควน ตำบลที่วัง เพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำไว้ใช้สำหรับการเกษตร และอุปโภคบริโภค  2) ประตูระบายน้ำวัดวังขรี ตําบลนาไม้ไผ่ เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำในช่วงน้ำหลาก และ 3) เพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำวัดคงคาเจริญ ตําบลหนองหงส์ ป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่การเกษตร 50 ไร่ อีกด้วย

ประชาสัมพันธ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

โย ประเด็นรัฐ