Home » ดีอี – ดีป้า เล็งดึง จ.ขอนแก่นและภาคเอกชน หารือแนวทางพัฒนา Digital Khon Kaen Sandboxพื้นที่ส่งเสริมการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาคอีสาน
Ministry of DE - DEPA aims to attract Khon Kaen Province and the private sector Discuss guidelines for developing Digital Khon Kaen Sandbox
Ministry of DE - DEPA aims to attract Khon Kaen Province and the private sector Discuss guidelines for developing Digital Khon Kaen Sandbox
www.pradenrath.com
Ministry of DE - DEPA aims to attract Khon Kaen Province and the private sector Discuss guidelines for developing Digital Khon Kaen Sandbox

วันที่ 16 สิงหาคม 2567, จังหวัดขอนแก่น – กระทรวงดีอี และ ดีป้า ร่วมพูดคุยกับบรรดาผู้ประกอบการและดิจิทัลสตาร์ทอัพในพื้นที่ วางแผนหารือจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชนเดินหน้าพัฒนา ‘Digital Khon Kaen Sandbox’ พื้นที่ส่งเสริมให้เกิดการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาคอีสาน อีกทั้งเน้นย้ำให้เกิดการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะ Big Data จากผู้ประกอบการไทย เพื่อช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรม ก่อนเยี่ยมชมกิจกรรมอัปสกิลดิจิทัลผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้าและให้บริการในพื้นที่ พร้อมแนะผู้ประกอบการชูจุดเด่นภาคอีสานดึงดูดความสนใจผู้บริโภค

นายประเสริฐ จันทรรวงทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรม ‘Ignite Isan Digital Hub’ ภายใต้โครงการ DIGINEXT by SEED THAILAND พร้อมร่วมพูดคุยกับบรรดาผู้ประกอบการและดิจิทัลสตาร์ทอัพในพื้นที่เพื่อหารือแนวทาง แลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ สะท้อนข้อมูลที่เป็นประโยชน์เพื่อนำไปใช้ต่อยอดการดำเนินธุรกิจ และร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนประเทศสู่เศรษฐกิจและสังคมดิจิทัล โดยมี นายพันธ์เทพ เสาโกศล รองผู้ว่าราชการจังหวัดขอนแก่น พร้อมด้วย ดร.ชินาวุธ ชินะประยูร ผู้ช่วยผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า และ ดร.วาริน รัชนานุสรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันส่งเสริมวิสาหกิจดิจิทัลเริ่มต้น ร่วมในกิจกรรม

Ministry of DE - DEPA aims to attract Khon Kaen Province and the private sector Discuss guidelines for developing Digital Khon Kaen Sandbox

“ภาคเอกชนของจังหวัดขอนแก่นถือว่ามีความเข้มแข็งและเป็นเอกภาพ อีกทั้งมีความพร้อมที่จะพัฒนาจังหวัดอย่างเป็นรูปธรรม ส่งผลให้ขอนแก่นเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพและโดดเด่นเป็นอย่างมากในพื้นที่ภาคอีสาน ด้วยเหตุนี้ กระทรวงดีอี และ ดีป้า จึงต้องการเชิญชวนจังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และภาคเอกชน ร่วมหารือแนวทางการพัฒนา ‘Digital Khon Kaen Sandbox’ พื้นที่ส่งเสริมให้เกิดการยกระดับเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลภาคอีสาน โดยเบื้องต้นคาดว่าจะมีการนำมาตรการทางภาษีเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของกลไกดึงดูดการลงทุน นอกจากนี้ยังเน้นย้ำให้เกิดการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในภาคเกษตรกรรม โดยเฉพาะ Big Data จากผู้ประกอบการไทย เพื่อช่วยยกระดับภาคอุตสาหกรรม อีกทั้งเป็นการป้องกันการรั่วไหลของข้อมูล อย่างไรก็ตาม กระทรวงดีอี โดย ดีป้า ยังได้ดำเนินการส่งเสริมให้เกิดการนำเทคโนโลยีอื่น ๆ มาใช้ผ่านโครงการต่าง ๆ อาทิ โครงการ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (ชุมชนโดรนใจ) และ 1 ตำบล 1 ดิจิทัล (สมาร์ทลีฟวิ่ง)” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงดีอี กล่าว

Ministry of DE - DEPA aims to attract Khon Kaen Province and the private sector Discuss guidelines for developing Digital Khon Kaen Sandbox

พร้อมกันนี้ คณะได้เยี่ยมชมกิจกรรม ‘Digital Content-Driven E-Commerce Workshop: การอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเพิ่มยอดขายด้วยดิจิทัลคอนเทนต์’ พื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กิจกรรมต่อยอดความสำเร็จของโครงการ CONNEXION ที่มุ่งพัฒนาศักยภาพและสร้างความเข้าใจในการใช้ดิจิทัลคอนเทนต์เพื่อสร้างยอดขายบนแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซอย่างมีประสิทธิภาพให้กับผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้าและให้บริการในจังหวัดขอนแก่นและพื้นที่ใกล้เคียงผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการหัวข้อต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเทคนิคการถ่ายภาพสินค้า การสร้าง Storytelling การ Live ขายสินค้า การเปิดร้านค้าใน Social Commerce อย่าง TikTok และ Facebook การใช้ข้อมูลวิเคราะห์ช่องทางขายสินค้าออนไลน์ด้วยแพลตฟอร์ม eTailligence และการสร้าง Micro Influencer หน้าใหม่ให้กับท้องถิ่น

Ministry of DE - DEPA aims to attract Khon Kaen Province and the private sector Discuss guidelines for developing Digital Khon Kaen Sandbox

Ministry of DE - DEPA aims to attract Khon Kaen Province and the private sector Discuss guidelines for developing Digital Khon Kaen Sandbox

นายประเสริฐ กล่าวว่า ภายหลังจากการพูดคุยกับผู้ประกอบการในพื้นที่ รวมถึงอินฟลูเอนเซอร์ที่เข้าร่วมกิจกรรมพบว่า สินค้าและบริการของพี่น้องผู้ประกอบการในพื้นที่ภาคอีสานมีเอกลักษณ์และมีศักยภาพในการเป็นซอฟต์พาวเวอร์ของประเทศ แต่ผู้ประกอบการกลับสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาในหลากหลายด้าน เช่น ผู้ประกอบการหลายรายยังขาดความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการใช้งานเทคโนโลยีและเครื่องมือดิจิทัลเพื่อเพิ่มยอดขายและวางแผนการตลาด ทำให้ไม่สามารถขยายตลาดและตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในยุคปัจจุบันได้อย่างตรงจุดและมีประสิทธิภาพ ดังนั้นกิจกรรมในวันนี้จะช่วยบรรเทาปัญหาที่เกิดขึ้น ขณะเดียวกัน ผู้ประกอบการเองจะต้องนำจุดเด่นที่เป็นเอกลักษณ์ของภาคอีสานมาใช้เป็นจุดขายเพื่อดึงดูดใจผู้บริโภคอีกทางหนึ่ง

ประชาสัมพันธ์กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม

โย ประเด็นรัฐ